ในงานบริหารการผลิตหรือการบริการ มักจะหลีกเลี่ยงงานที่สำคัญงานหนึ่งคือ การซ่อมและบำรุงรักษา ถึงแม้ว่างานซ่อมและบำรุงรักษาไม่ใช่งานผลิตโดยตรง แต่งานซ่อมและบำรุงรักษาก็มีบทบาทช่วยให้การผลิตและการบริการขององค์กรนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่การผลิตและการบริการจำเป็นที่จะต้องอาศัยอุปกรณ์และเครื่องจักรมากขึ้น การที่เครื่องจักรเกิดขัดข้องขึ้นมากะทันหันหรือไม่สามารถใช้งานได้ จะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตและการบริการนั้นๆ ดังนั้นเราจึงควรมาทำความเข้าใจงานซ่อมบำรุงและประโยชน์ของการซ่อมบำรุงก่อนว่ามีอะไรบ้าง
1 ช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิคจะดูแลควบคุม ตรวจซ่อมและบํารุงรักษา ระบบสาธารณูปโภคเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่นๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมในการใช้งาน
2 ช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิค ต้องติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกลและสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาและ มาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย
3 ซ่อมบำรุงรักษาแก้ไขสายไฟและหลอดไฟ โดย ช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิค จะจัดให้บริการ เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของสำนักงานและภายในโรงงานทั้งในเชิงป้องกันและซ่อมบำรุง รวมทั้งการจัดเตรียกระบวนการในการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งหลังการดำเนินงาน
4 ติดตั้ง และตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ และตู้น้ำเย็นโดย ช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิค ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษา จัดทำแผนงานบำรุงรักษาอุปกรณ์และทำความสะอาดเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานรวมทั้งการจัดเตรียมกระบวนการในการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งหลังการดำเนินการ
5 ให้คําแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน การอบรมเกี่ยวกับงานช่าง เทคนิคให้แก่ลูกค้าผู้รับบริการ ทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน เพื่ออํานวยความสะดวก และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ
6 บำรุงรักษางานระบบโทรศัพท์ โดย ช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิค จะทำหน้าที่ ซ่อมบำรุงรักษา จัดทำแผนงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อให้ระบบสื่อสารพร้อมใช้งานตลอดเวลา เนื่องจากหากระบบโทรศัพท์ล่มหรือใช้งานไม่ได้จะทำให้การประสานงานในการทำงานเป็นไปอย่างอยากลำบาก
7 ช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิค ต้องให้การส่งเสริม กํากับ ดูแล ควบคุม และตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมาเพื่อให้การดําเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด การวางแผน ประเมินผล ให้คําแนะนําและแก้ไขปัญหาขอข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน
จุดมุ่งหมายของงานซ่อมบำรุง
- เพื่อให้เครื่องมือใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล(Effectiveness) คือ สามารถใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้เต็มความสามารถและตรงกับวัตถุประสงค์ที่จัดหามามากที่สุด
- เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีสมรรถนะการทำงานสูง(Performance) และช่วยให้เครื่องมือเครื่องใช้มีอายุการใช้งานยาวนาน เพราะเมื่อเครื่องมือได้ใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะเกิดการสึกหรอ ถ้าหากช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิค ไม่ปรับแต่งหรือซ่อมแซมแล้ว เครื่องมืออาจเกิดการขัดข้อง ชำรุดเสียหายหรือ ทำงานผิดพลาด
- เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ(Reliability) คือ การทำให้เครื่องมือเครื่องใช้มีมาตรฐาน ไม่มีความคลาดเคลื่อนใด ๆ เกิดขึ้น
- เพื่อความปลอดภัย (Safety) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เครื่องมือเครื่องใช้จะต้องมีความปลอดภัยเพียงพอต่อผู้ใช้งาน ถ้าเครื่องมือเครื่องใช้ทำงานผิดพลาด ชำรุดเสียหาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บต่อผู้ใช้งานได้ การบำรุงรักษาที่ดีจะช่วยควบคุมการผิดพลาด
- เพื่อลดมลภาวะของสิ่งแวดล้อมเพราะเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดเสียหาย เก่าแก่ ขาดการบำรุงรักษา จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีฝุ่นละอองหรือไอของสารเคมีออกมา มีเสียงดัง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อประหยัดพลังงานเพราะเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนมากจะทำงานได้ต้องอาศัยพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าหากเครื่องมือเครื่องใช้ได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี เดินราบเรียบไม่มีการรั่วไหลของน้ำมัน การเผาไหม้สมบูรณ์ ก็จะสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้
การป้องกันอุบัติเหตุในงานซ่อมบำรุง
โรงงานควรปฏิบัติดังนี้
- ต้องเปลี่ยนทัศนคติต่อความปลอดภัยและอุบัติเหตุในงานซ่อมบำรุงเสียใหม่ ตั้งแต่ระดับผู้จัดการลงไป โดยต้องยอม รับว่าอุบัติเหตุในโรงงานซึ่งเกิดขึ้นในขณะซ่อมบำรุง หรือเนื่องจากการซ่อม บำรุงนั้น เป็นตัวบ่งชี้ว่าได้ เกิดความ บกพร่อง ในการบริหารงานซ่อมบำรุง และการสร้างความปลอดภัย เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ของ ผู้บริหารช่างซ่อมบำรุง หรือช่างเทคนิค ร่วมกับผู้บริหารในฝ่ายการผลิต
- ต้องออกนโยบายคำสั่ง หรือประกาศว่าด้วยมาตรฐานการทำงาน ด้านซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
- ต้องมีการทำความเข้าใจกันเป็นอย่างดีในระหว่างการผลิตกับการซ่อมบำรุงโดยเฉพาะการเข้าใจในหลักการอำนาจ และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสาร
- ต้องมีการจัดทำแผนงานระยะยาวของโครงการ การซ่อมบำรุงแบบป้องกัน ในระดับโรงงาน
- ต้องพยายามเปลี่ยน สถานภาพจากการซ่อมบำรุงแบบไล่ตาม ไปเป็น การซ่อมบำรุงแบบป้องกัน
- ต้องศึกษาข้อมูลทางเทคนิค ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีการใช้งานอยู่แล้ว จัดทำมาตรฐาน การ ใช้งานและการซ่อมบำรุง พร้อมกับคัดเลือกข้อห้าม หรือข้อควรระวังในด้านความปลอดภัย จัดทำเป็น แผ่นป้าย โลหะ หรือ พลาสติก ติดตั้งไว้ ที่จุดที่เกิดอันตรายต่าง ๆ
- ต้องกำหนดเขตต่าง ๆในโรงงาน แล้วแบ่งเป็น เขตหวงห้าม เขตควบคุม เขตทั่วไป หรือชื่ออื่น ๆตาม ความ เหมาะสม ในกรณีที่ พนักงานในฝ่ายซ่อมบำรุง มีจำนวนมาก มีอายุงาน ตลอดจนประสบการณ์ และความชำนาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน ต้องมีการจัดแบ่งเกรด หรือจัดกรุ๊ปช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิค แล้วแบ่งเขตงานรับผิดชอบ ให้ชัดเจน พนักงานใหม่ต้องได้รับการอบรมอย่างเพียงพอ และในการเข้าทำงาน
- ต้องมีหัวหน้าที่ชำนาญคอยดูแลช่างซ่อมบำรุง หรือ ช่างเทคนิคอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา